PRANGTHIP

วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ภัยธรรมชาติ >>>ข่าวทูตจีนแจงโขงแห้งไม่เกี่ยวเขื่อนใหญ่จีน

           เอกอัครราชฑูตจีน รุดดูสถานการาณ์น้ำโขงแห้งที่ท่าเรือเชียงแสน แจงการสร้างเขื่อนในจีนไม่เกี่ยวระดับน้ำลด ระบุพร้อมให้ความร่วมมือกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงในการแก้ปัญหาผลกระทบจากภัยแล้วร่วมกัน


















จากนั้นได้มีการหารือเกี่ยวกับสถานการณ์แม่น้ำโขงที่เกิดวิกฤติแห้งจนไม่สามารถใช้ในการเดินเรือได้ ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา และในเดือน พ.ย.นี้เริ่มมีสัญญานว่าจะเหือดแห้งลงอย่างรวดเร็วจนเสี่ยงจะเกิดวิกฤติซ้ำอีกครั้ง ขณะที่เรือสินค้าที่จอดเทียบท่าเรือเชียงแสนและบริเวณที่ด่านศุลกากรกำหนดยังคงขนสินค้าขึ้นลงตามปกติ แม้จะเริ่มเห็นหาดทรายเกิดขึ้นกลางแม่น้ำโขงแล้ว
 เมื่อเวลา 14.00 น.วันที่ 18 พ.ย. นายก่วนมู่ เอกอัครราชทูตประเทศจีน ประจำประเทศไทยและนายจู้ เหมยหมิ่น กงสุลใหญ่ประเทศจีนประจำ จ.เชียงใหม่ ได้เดินทางไปไปประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานราชการในพื้นที่ อ.เชียงแสน ณ สำนักงานท่าเรือเชียงแสนเกี่ยว โดยมีการหารือเกี่ยวกับความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม


 นายก่วนมู่ กล่าวว่า นโยบายของประเทศจีนคือการมีความสัมพันธ์กับทุกประเทศโดยรอบ โดยเฉพาะจีนตะวันตกเฉียงใต้ ที่มุ่งลงสู่ภาคใต้เพื่อเชื่อมกับอาเซียน ด้วยเหตุนี้ที่ผ่านมาตนจึงพยายามเป็นส่วนหนึ่ง ในการผลักดันความสัมพันธ์และการค้าลุ่มแม่น้ำโขงตอนบนอย่างต่อเนื่อง กระทั่งปัจจุบันพบว่ามีความเจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็วโดยเกิดเมืองท่าหลายแห่งและมีการเดินเรืออย่างคึกคัก อย่างไรก็ตามพบว่าช่วงต้นปีที่ผ่านมากลับพบว่าระดับน้ำในแม่น้ำโขงเกิดวิกฤติ ซึ่งถือเป็นวิกฤติที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนและที่สำคัญคือหลายฝ่ายต่างเพ่งเล็งไปที่ประเทศจีนว่าเป็นต้นเหตุ
สำหรับสาเหตุเพราะจีนตอนใต้มีการก่อสร้างเขื่อนเหนือน้ำเอาไว้หลายแห่งและหลายฝ่ายกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อประเทศท้ายน้ำ แต่ตนยืนยันว่าความเป็นจริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้น ซึ่งเรื่องนี้รัฐบาลจีนก็เคยอธิบายข้อเท็จจริงต่อสาธารณชนรวมทั้งประเทศท้ายน้ำ รัฐบาลไทย สื่อมวลชน ภาคเอกชน ไปแล้วว่าการมีเขื่อนในจีนตอนใต้นั้นก็อาจจะส่งผลกระทบต่อระดับน้ำแต่แค่เพียงในระดับหนึ่งเท่านั้นและถือว่าไม่มาก เนื่องจากเขื่อนจีนออกแบบมาให้เป็นเขื่อนลักษณะกักน้ำครั้งเดียวในรอบปี เมื่อได้ปริมาณน้ำตามที่ต้องการก็จะปล่อยปริมาณน้ำทั้งหมดลงสู่ประเทศใต้น้ำตามปกติ
 เอกอัครราชทูตประเทศจีนประจำประเทศไทย กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตามช่วงต้นปีเกิดวิกฤติหลายด้าน ทั้งปัญหาความแห้งแล้งที่จีนตอนใต้ซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรกในรอบ 50 ปี ประชาชนที่มณฑลหยุนหนันได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักบางเมืองไม่มีฝนตกติดต่อกันนานร่วม 200 วัน และมีเมืองที่ได้รับผลกระทบรวมกันกว่า 10 เมือง ขณะที่ปัญหาภัยแล้งเกิดขึ้นกระจายไปทั่วภูมิภาคทั้งจีนตอนใต้จนมาถึงประเทศไทย ดังนั้นวิกฤติช่วงต้นปีจึงเกิดปัญหาภัยแล้งเป็นส่วนใหญ่ กระนั้นรัฐบาลจีนก็แจ้งให้ทางเอกอัคราชทูตประจำประเทศไทยและกงสุลใหญ่ให้ร่วมมือกับประเทศไทยในการรองรับผลกระทบในอนาคตด้วย

 รายงานข่าวแจ้งอีกว่าในปัจจุบันประเทศจีนมีการเขื่อนในแม่น้ำโขงเขตมณฑลยูนนานหลายแห่ง ประกอบไปด้วยเขื่อนเสี่ยวหวานตั้งอยู่เหนือเขื่อนอื่นๆ มีความสูง 300 เมตร มีกำลังผลิตไฟฟ้า 4,200 เมกะวัตต์ และมีความจุอ่างน้ำกว่า 145,560 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยเริ่มกักเก็บน้ำตั้งแต่เดือน ต.ค.2552 ที่ผ่านมา นอกจากนี้มีเขื่อนมันวาน มีความสูง 126 เมตร มีกำลังผลิตไฟฟ้า 1,500 เมกะวัตต์ เขื่อนต้าเฉาซาน สูง 110 เมตร 1,350 เมกะวัตต์ และเขื่อนจิงหง มีความสูง 118 เมตร มีกำลังผลิตไฟฟ้า 1,500 เมกะวัตต์ นอกจากนี้มีโครงการจะสร้างอีก 4 เขื่อนได้แก่เขื่อนเขื่อนนัวจาตู้ มีความสูง 254 และมีกำลังผลิตไฟฟ้า 5,000 เมกะวัตต์โดยมีกำหนดสร้างให้แล้วเสร็จในปี 2563 เขื่อนกงกว่อเฉียว มีความสูง 130 เมตร กำลังผลิตไฟฟ้า 750 เมกะวัตต์ เขื่อนกันลันปา กำลังผลิตไฟฟ้า 150 เมกะวัตต์ และเขื่อนเมงซอง กำลังผลิตไฟฟ้า 600 เมกะวัตต์
 ทั้งนี้ประเทศจีนมีเนื้อที่ลุ่มแม่น้ำโขงรวมกันประมาณ 162,760 ตารางกิโลเมตรคิดเป็น 21% ของลุ่มแม่น้ำโขงทั้งหมด ซึ่งไหลผ่านจีน พม่า ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม รวมกันประมาณ 775,740 ตารางกิโลเมตร โดยแม่น้ำโขงเฉพาะที่ผ่านมาประเทศจีนเรียกกันว่าแม่น้ำหลานชางมีความยาวประมาณ 2,130 กิโลเมตร จากความยาวของแม่น้ำทั้งหมด 4880 กิโลเมตร โดยส่วนใหญ่อยู่ในมณฑลยูนนาน



5 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ24 สิงหาคม 2554 เวลา 00:33

    ภัยธรรมชาติที่เกิดจากฝีมือของมนุษย์จริงๆ
    เป็นความรู้ที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์อย่างมากแก่ชาวลุ่มน้ำโขง เพราะทำให้การดำเนินชีวิตของคนลุ่มแม่น้ำโขงเปลี่ยนแปลงไป

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ24 สิงหาคม 2554 เวลา 06:15

    ใช่ๆๆๆๆ ภัยธรรมชาติเกิดจากฝีมือมนุษย์นี่แหละ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ24 สิงหาคม 2554 เวลา 06:17

    ต้นแม่น้ำยังแห้งแบบนี้ เราอยู่ปลายแม่น้ำจะขนาดไหน

    สงสารชาวนาจริงๆๆๆ

    ในอนาคตข้างหน้าจะเป็นอย่างไรบ้าง..

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ24 สิงหาคม 2554 เวลา 06:42

    หากเป็นแบบนี้ อนาคตข้างหน้าของประเทศจะเป็นอย่างไร

    ตอบลบ